Search

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีการดูแลรักษาเปียโน

ทำไมการปรับเสียงจึงต้องกระทำในทันทีหลังจากที่ซื้อเปียโน
ก่อนที่เปียโนของยามาฮ่าจะถูกส่งไปยังลูกค้า เปียโนจะได้รับการปรับเสียงและตรวจสอบทุกอย่างซ้ำอีกคือความสมบูรณ์ที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม สตริงของเปียโนต่างถูกขึงให้ตึงจึงมีโอกาสที่สตริงนั้นจะคลายตัวทำให้โทนเสียงเปลี่ยนไป ดับนั้นในช่วงต้น ๆ จึงจำเป็นต้องมีการปรับเสียงของสตริงทุกเส้นเป็นระยะ ๆ เพื่อให้สตริงรักษาความตึงของมันได้อย่างมั่นคงซึ่งควรกระทำประมาณปีละ 2-3 ครั้ง อย่างต่อเนื่องตลอดไป 

ทำไมจึงต้องมีการปรับส่วนต่างๆ ของเปียโนเป็นระยะ ๆ
เปียโนมีสตริงทั้งหมด 230 เส้น แต่ละเส้นต่างรับแรงดึงประมาณ 90 กิโลกรัม เมื่อรวมแรงดึงทั้งหมดแล้วจะมากกว่า 20 ตัน แรงดึงอันมหาศาลจำนวนนี้จะค่อย ๆ หย่อนลงทีละน้อย ทำให้เสียงของสตริงบางเส้นเปลี่ยนแปลงเสียงไปจากเดิม อีกทั้งการเคาะของสักหลาดเป็นเวลานานจึงทำให้สตริงหย่อนไปเช่นกันในการบำรุงรักษาเปียโนที่ถูกต้องนั้น ควรจะมีการปรับเสียงและตรวจส่วนต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ (อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง) เพื่อให้โทนเสียกลับมาอยู่ในระดับเดิม การดูแลและปรับส่วนต่างๆของเปียโนยังช่วยให้มี อายุการใช้งานนานยิ่งขึ้นอีกด้วย 

การบำรุงรักษาเปียโนแบ่งออกเป็น 
 1.การดูแลรักษาด้วยช่างจูนเปียดน
        1.1 การปรับเสียง (Tuning)
        1.2 การปรับและแก้ไขส่วนของ Action
        1.3 การปรับแต่งเสียง Voicing
 2.การดูแลรักษาด้วยตนเอง 

การให้บริการของช่างจูนเปียโน
1. Tuning คืออะไร
เปียโนแต่ละตัวจะมีสตริงกำเนิดเสียงอยู่ประมาณ 230 เส้น และเสียงที่ได้จะต้องได้ระดับตามบันไดเสียงเรียงกันไป Tuning หมายถึง การปรับความตึงของสตริงแต่ละเส้นที่ให้เสียงที่ถูกต้องและได้มาตรฐานมากที่สุด และยังกลมกลืนเท่ากันทุกเส้น(แต่ละคีย์อาจมี 1 หรือ 2 หรือ 3 เส้น ) โดยการปรับความตึงของสตริงที่หมุดปรับเสียงด้วยเครื่องมือพิเศษเฉพาะของช่างจูนเปียโนที่ชำนาญเท่านั้น
2. Regulation คืออะไร
Action ของเปียโนประกอบไปด้วยกลไกต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน Regulation หมายถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับส่วนต่าง ๆ ให้เข้ากันได้อย่างดี เพื่อให้ Action ทำงานได้อย่างถูกต้องสม่ำเสมอ
3. Voicing คืออะไร
เสียงของเปียโนเกิดจากการสั่นของสตริงอาจมีลักษณะต่างกันไป เช่น เสียทุ้มให้เสียงไพเราะแต่ขาดความมีชีวิตชีวา หรือ เสียงเปียโนที่แข็งกร้าวเกินไป ก็จะไม่น่าฟัง ดังนั้น Voicing คือการปรับความสมดุลของโทนเสียงให้อยู่ในระดับพอดีทำให้ไพเราะและมีชีวิตชีวา การปรับความสมดุลของเสียงเป็นงานที่ต้องอาศัยความชำนาญและเทคนิคพิเศษเฉพาะในการสำรวจความผิดปกติของส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเสียงซึ่งมีหลายส่วนด้วยกัน แต่ส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ ขนาดของฆ้อน ได้ขนาดที่ถูกต้องและความหนาแน่นของสักหลาดจะต้องพิจารณาแต่ละตัวไป ในบางครั้งอาจต้องปรับรูปทรงของฆ้อนและความยืดหยุ่นของสักหลาดด้วย 

การดูแลรักษาด้วยตนเอง
การดูแลรักษาด้วยตนเอง
1. สถานที่ตั้งเปียโน :  สถานที่ตั้งเปียโนควรห่างจากผนัง 6-10 นิ้วและมีความชื้น 60% และไม่น้อยกว่า 30 % อุณหภูมิ 60F - 90 F หรือ 15 C - 25 C
            - อย่างวางไกล้ประตูหน้าต่าง
            - อย่าวางใต้เครื่องปรับอากาศ
            - อย่าวางใกล้แหล่งความร้อน
            - พื้นที่วางเปียโนควรเรียบเสมอกัน
2. ระวังความชื้นในสถานที่ต่าง ๆ ดังนี้
            - บริเวณที่มีทะเลใกล้เคียง หรือบริเวณที่มีฝนตกชุก
            - บ้านที่อยู่ใกล้เคียงบริเวณเชิงเขา
            - ในพื้นที่ที่ปราศจากลมพัดผ่านสะดวก 


การบำรุงรักษาประจำวัน
1.ใช้ผ้านุ่ม ๆ สะอาดเช็ดฝุ่นที่จับอยู่ตามผิวเปียโน
2.ใช้ผ้านุ่ม ๆ คลุมคีย์บอร์ดเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นเกาะ ในการทำความสะอาดตัวคีย์บอร์ดให้ใช้ ผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำ ที่ผสมสบู่บิดพอหมาด ๆ เช็ดที่ตัวคีย์บอร์ด ข้อควรระวัง อย่าใช้แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ หรือน้ำยาเคมี เป็นอันขาดเพราะคีย์บอร์ดอาจเกิดความเสียหายได้
3.การบำรุงรักษาผิวที่ได้รับการขัดมัน การทำความสะอาดส่วนนี้สามารถทำได้ทุกเวลา แต่ควรใช้ขี้ผึ้งซิลิกอน หรือ ครีมสำหรับขัดเฟอร์นิเจอร์เท่านั้น
4.ควรหลีกเลียงการใช้เครื่องทำความสะอาดที่มีเคมีภัณฑ์อาจสร้างความเสียหายแก่ผิวของตัวเปียโนได้
5.ควรตั้งเปียโนห่างจากบริเวณที่มีความชื้นสูง และความร้อนให้มากที่สุด (ความชื้น 50-70%) อุณหภูมิ 15-25 องศาเซลเซียส เป็นช่วงที่ดีที่สุดของเปียโน
6.ไม่ควรให้ถูกละอองฝุ่น เพราะความชื้นไม่เพียงแต่จะมีผลต่อเสียงเท่านนั้น ยังมีผลเสียต่อส่วนอื่น ๆ อีกด้วยหรือถ้าได้รับความร้อนจากแสงแดดโดยตรงอาจทำให้ผิวภายนอกของตัวเปียโนมีสีซีดลงไม่เงางามบางครั้งอาจทำให้ซาวด์บอร์ดแตกร้าวได้
7.อย่าวางสิ่งของต่าง ๆ บนเปียโน
8.ระวังความเสียหายจากแมลงและหนูกัดไม้
9.ไม่ควรเคลื่อนย้ายเปียโนบ่อย
10.ควรล้างมือก่อนเล่นทุกครั้ง 


แหล่งที่มาของบทความ : http://www.musichouse.co.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น