Search

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่ชาวญี่ปุ่นใช้รับมือกับภัยธรรมชาติร้ายแรงที่สุดในรอบศตวรรษ

พอดีได้รับอีเมลส่งต่อมา เห็นว่าน่าสนใจมากก็เลยเอามาเล่าสู่กันฟัง ใครอ่านแล้วไม่หลั่งนำตาก็ไม่รู้จะว่างัยแล้วครับ...


สิ่งที่ชาวญี่ปุ่นใช้รับมือกับภัยธรรมชาติร้ายแรงที่สุดในรอบศตวรรษ

TNN ติดตามข่าวแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของญี่ปุน อย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันแรกด้วยความรู้สึกตกตะลึงและตามมาด้วยความน่าสะพรึงกลัวต่อพลังมหาศาลของธรรมชาติด้วย ความสงสาร และ เห็นใจอย่างจับใจ ต่อทุกข์แสนสาหัส ที่ประชาชนญี่ปุ่นประสบอยู่ในปัจจุบัน

ในระหว่างติดตามดูข่าวทางโทรทัศน์ และ อินเตอร์เนตเหล่านี้... ท่ามกลางความโหดร้ายน่ากลัว เรากลับพบความดีงามที่ทำให้เรารู้สึกทึ่งและชื่นชม นั่นคือ ความสงบ นิ่งของชาวญี่ปุ่น ภายหลังเหตุการณ์รุนแรง ที่ทำลายชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีพ เราไม่พบข่าวการบุกทุบร้านสะดวกซื้อ เพื่อแย่งชิงอาหาร น้ำ ฯลฯ ทั้งที่ทุกแห่ง ต่างขาดแคลนอย่างสาหัส แต่สิ่งที่เราพบเห็นตามข่าว ก็คือ “วินัย” ของชาวญี่ปุ่น ที่อดทน รอคอย และ ร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้รู้สึกว่าสิ่งนี้นั่นเองที่จะเป็น “เคล็ดลับ” สำคัญที่สุด ที่ชาวญี่ปุ่นใช้เพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติร้ายแรงในครั้งนี้

ลองจินตนาการดูนะคะว่า หากปราศจาก ความอดทน วินัย เช่นนี้ สถานการณ์ที่เลวร้ายในปัจจุบัน จะยิ่งเพิ่มความร้ายแรงมากขึ้นเพียงใด ???
วันนี้ OPEN UP ขอเผยแพร่เรื่องราวน่าประทับใจที่ได้ไปอ่านเจอ จากนักเรียนไทยในญี่ปุ่นที่เปิดเผยบรรยากาศหลังเกิดแผ่นดินไหวใหญ่และคลื่นยักษ์สึนามิถล่มใน Twitter ของเขา และมีคนนำมาแปลเป็นภาษาไทยค่ะ
เรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤติการณ์ในประเทศญี่ปุ่น
(จาก Link http://prayforjapan.jp/tweet.html ศูนย์กลางข่าวสารแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น โดย สนญ. และ สนทญ.)

เรื่องที่หนึ่ง ข้าพเจ้าได้เห็นเด็กน้อยพูดกับพนักงานรถไฟ “ขอบคุณค่ะ/ครับ ที่เมื่อวานพยายามอย่างสุดชิวิตทำให้รถไฟเดินรถได้อีกครั้ง” พนักงานรถไฟร้องไห้ ส่วนข้าพเจ้าร้องไห้ฟูมฟายไปแล้ว (คืนวันที่เกิดแผ่นดินไหว รถไฟซึ่งเป็นการคมนาคมหลักของชาวญี่ปุ่นหยุดวิ่ง กว่าจะวิ่งได้ก็หลังเที่ยงคืนไปแล้ว)

เรื่องที่สอง ที่ดิสนีย์แลนด์ คนติดกลับบ้านไม่ได้จำนวนมาก และทางร้านขายของก็ได้เอาขนมมาแจกนักท่องเที่ยว ก็ได้มีนร.ม.ปลายหญิงกลุ่มหนึ่งไปเอามาจำนวนมาก มากเกินพอ แว่บแรกที่ข้าพเจ้ารู้สึกทันทีคือ อะไรวะ เอาไปซะเยอะ! แต่วินาทีต่อมากลายเป็นความรู้สึกตื้นตันใจ เพราะเด็กกลุ่มนั้นเอาขนมไปให้เด็กๆ ซึ่งพ่อแม่ไม่สามารถไปเอาเองได้เพราะต้องอยู่ดูแลลูกๆ

เรื่องที่สาม ในซุปเปอร์มาร์ทแห่งหนึ่ง ของตกระเกะระกะเพราะแรงแผ่นดินไหว แต่คนซื้อก็เดินไปช่วยกันเก็บของ แล้วก็หยิบส่วนที่ตนอยากซื้อไปต่อคิวจ่ายเงิน ในรถไฟที่เพิ่งเปิดให้ใช้บริการ และคนที่ตกค้างจำนวนมากกำลังเดินทางกลับ ก็ได้เห็นคนแก่คนหนึ่งลุกให้สตรีมีครรภ์นั่ง คนญี่ปุ่นแม้ในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ ก็ยังมีน้ำใจ มีระเบียบ

เรื่องที่สี่ ในคืนแรกที่เกิดแผ่นดินไหว รถไฟไม่วิ่ง ทำให้คนจำนวนมากต้องเดินกลับบ้านแทนการนั่งรถไฟ ขณะที่ข้าพเจ้าต้องเดินกลับจากมหาวิทยาลัยมายังที่พัก ร้านรวงก็ปิดหมดแล้ว ข้าพเจ้าได้ผ่านร้านขนมปังร้านหนึ่งซึ่งปิดไปแล้ว แต่คุณป้าเจ้าของร้านก็ได้เอาขนมปังมาแจกฟรีแก่คนที่กำลังเดินกลับบ้าน ในภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ น้ำใจที่มีให้กันทำให้หัวใจข้าพเจ้าอบอุ่น ตื้นตัน

เรื่องที่ห้า ในขณะที่รอรถไฟให้กลับมาวิ่งได้ ข้าพเจ้าก็ได้รออยู่ในอาคารสถานีอย่างเหน็บหนาว โฮมเลสก็ได้แบ่งปันแผ่นกล่องกระดาษให้ โฮมเลสที่ข้าพเจ้ามองด้วยหางตาทุกวันที่มาใช้สถานี คืนนั้นทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกอบอุ่นอย่างประหลาด

เรื่องที่หก (เรื่องราวคืนรถไฟไม่วิ่งเยอะหน่อยนะครับ) ด้วยระยะเวลาสี่ชั่วโมงที่ต้องเดินเท้ากลับบ้าน ก็ได้ผ่านหน้าบ้านหลังหนึ่ง ตาก็ไปสะดุดกับแผ่นกระดาษที่เขียนว่า “เชิญใช้ห้องน้ำได้ค่ะ” หญิงสาวท่านหนึ่งได้เปิดบ้านตัวเองให้แก่คนที่กำลังเดินกลับบ้านได้ใช้ วินาทีที่ได้เห็นแผ่นกระดาษนั้น น้ำตามันก็ไหลออกมาเอง น้ำใจคนญี่ปุ่น

เรื่องที่เจ็ด แม้ว่าไฟดับ ก็ยังมีคนที่สู้ทำงานให้ไฟกลับมาติด น้ำไม่ไหลก็ยังมีคนไม่ยอมแพ้ทำให้น้ำกลับมาไหล เกิดปัญหากับโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ก็มีคนที่พร้อมจะเข้าพื้นที่เพื่อซ่อมมัน ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้กลับมาสู่สภาพปกติด้วยตัวมันเอง ขณะที่พวกเราอยู่ในบ้านอันอบอุ่นแล้วก็พร่ำบ่นว่าเมื่อไรไฟมันจะติด น้ำจะไหลน้า ก็มีคนที่อยู่ข้างนอกท่ามกลางความหนาวเหน็บกำลังพยายามสู้อยู่

เรื่องที่แปด ในจังหวัดจิบะ คนลุงคนหนึ่งที่หลบภัยอยู่ก็ได้เปรยออกมาว่า ต่อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรน้า เด็กหนุ่มม.ปลายก็ตอบกลับไปว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องห่วง ต่อจากนี้ไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่ พวกผมจะทำให้มันกลับมาเหมือนเดิมแน่นอน (ไม่เป็นไร พวกเรายังมีอนาคต!!!)

เรื่องที่เก้า ขณะที่กำลังได้รับความช่วยเหลือ หลังจากที่ติดอยู่บนหลังคาบ้านมากว่า 42 ชั่วโมง คุณลุงก็ได้กล่าวว่า “ไม่เป็นไร ไม่เป็นไรครับ เคยมีประสบการณ์สึนามิที่ชิลีมาแล้ว ต่อจากนี้ไปพวกเรามาช่วยฟื้นฟูบ้านเมืองกันนะ” แกกล่าวด้วยรอยยิ้ม (สิ่งสำคัญสำหรับพวกเราคือ ต่อจากนี้ไปเราจะทำอะไรต่างหาก)

OPEN UP หวังว่าเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ จะสะท้อนใจให้เราเห็นถึงสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สถานการณ์ที่เลวร้ายคลี่คลายและผ่านพ้นไป นั่นก็คือ น้ำใจ วินัย และสปิริต ค่ะ สำหรับใครที่อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือชาวญี่ปุ่นในครั้งนี้ มีหลายหน่วยงานนะคะที่พวกเราจะสามารถไปร่วมบริจาคเงินหรือสิ่งของ ตลอดจนช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เปิดโอกาสให้เรามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือค่ะ ถ้ามีกำลังและโอกาส...ก็ร่วมด้วยช่วยกันนะคะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น