1. ส่วนประกอบของตัวเครื่อง
1. ปากเป่า 2. ที่รัดปากเป่า 3. กระเดื่อง 4. รูเสียง
5. ปากแตร 6. คอปากเป่า 7. Octave Key 8. น็อตยึดคอปากเป่า
9. Roller 10. Key Guard 11. Bow 12. ตัวเครื่อง 13. Upper Bow 14. ท่อแยก
2. วิธีการประกอบเครื่อง
1.ถอด หรือ แกะไม้ก๊อก ที่ติดอยู่กับ เครื่อง เพื่อป้องกัน กระเดื่อง ในขณะ ขนส่งออกให้หมด
2.ประกอบคอปากเป่า เข้ากับตัวเครื่อง ตามรูป แล้ว ขันน็อต ยึด คอปากเป่า ให้แน่น อาจจะทำ Slide Grease บาง ๆ ที่ คอปากเป่า ด้วยก็ได้
3.ประกอบลิ้น เข้ากับ ปากเป่า โดยให้ ปากเป่า เหลื่อมออกมา เล็กน้อย ตามรูป
4.ประกอบ ปากเป่า เข้ากับ คอปากเป่า โดย ทาขี้ผึ้ง Cork grease ที่ ปลาย คอปากเป่า เล็กน้อย แล้ว ค่อย ๆ หมุน ปากเป่า สวมเข้าไป ตามรูป
5.ขอเกี่ยว นิ้วโป้ง สามารถปรับได้ เพียงใช้ เหรียญหมุน คลายสกรูยึด แล้ว ปรับ ให้พอดี ตามต้องการ ตามรูป
3. การเทียบเสียง
การเทียบเสียง ให้ได้ระดับเสียง (Pitch) ที่ต้องการ สามารถทำได้ โดย ให้ผู้เล่น ปรับที่ปากเป่า, อุณหภูมิ ก็มีผล ต่อการเทียบเสียง ด้วยเหมือนกัน ดังนั้น ก่อนที่ จะทำ การเทียบเสียง ขอแนะนำให้ทำ การอบอุ่นเครื่อง ด้วยการเป่าลมเข้าไป ในเครื่องสักพัก ถ้าอุณหภูมิขณะที่เล่นต่ำ (เย็น) ให้ปรับปากเป่า เข้าไปให้ลึกกว่าปกติ แต่ ถ้าอุณหภูมิสูง (ร้อน) ก็ให้ ปรับ ปากเป่าออกมา เล็กน้อย
4. การดูแลรักษาภายใน
ภายหลังจากการใช้เครื่องทุกครั้ง ควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อ ยืดอายุ การใช้งาน ของเครื่อง
1.เช็ดทำความสะอาดปากเป่า และ คอปากเป่า ด้วย ผ้าหยอด ทำความสะอาด(Cleaning Swab) ตามรูป สำหรับ Baritone Saxophone ให้ปล่อย น้ำลาย ที่คอปากเป่า ออกให้หมด
2.ใช้อุปกรณ์ จาก ชุด ทำความสะอาด Saxophone ทำความสะอาด ภายใน ตามรูป
3.อย่างน้อย เดือนละ 1 ครั้ง ควรทำ ความสะอาด คอปากเป่า ตามขั้นตอนต่อไปนี้
3.1 ผสมน้ำสบู่ (Brass Soap) กับน้ำอุ่น ( 30 - 40 C ) ในอัตราส่วน น้ำสบู่ 1
ส่วนต่อน้ำอุ่น 10-15 ส่วน
3.2 ปิดรูเสียงที่คอปากเป่า เพื่อไม่ให้ น้ำไหลออกทางรู
3.3 ใช้แส้ล้างแตรจุ่มน้ำสบู่ ทำความสะอาด ภายใน คอปากเป่า ให้ทั่ว
3.4 ล้างน้ำสบู่และคราบสกปรก ออกให้หมด ด้วยน้ำสะอาด
3.5 เช็ดคอปากเป่าให้แห้ง ด้วยผ้า หยอดทำความสะอาด (Cleaning Swab)
5.การดูแลรักษาภายนอก
เพื่อยืด อายุการใช้งาน ของเครื่อง ควรปฏิบัติตาม ขั้นตอน ต่อไปนี้ ทุกครั้ง ภายหลังจาก การใช้เครื่อง
1.เช็ดทำความสะอาด ตัวเครื่องภายนอก ด้วยผ้า Polishing Cloth โดย อาจจะชุบด้วยน้ำยา Lacquer Polish สักเล็กน้อย เช็ด บริเวณที่ สกปรกมาก สำหรับ เครื่องที่ เคลือบ ด้วย แลคเกอร์พิเศษ ห้ามใช้น้ำยา เช็ดนิเกิล (Metal Polish) เพราะ จะทำให้ แลคเกอร์ ที่เคลือบอยู่ หลุดออกได้ ส่วนเครื่อง ที่ชุบด้วยเงิน ให้ใช้น้ำยาขัดเงิน (Silver Polish) แทน
2.การใช้น้ำยาขัดเครื่อง ควร กระทำเฉพาะ บริเวณ ที่เป็น ตัวเครื่องเท่านั้น การทำความสะอาด กระเดื่องนั้น ควรนำผ้า มาพับเป็น แถบเล็ก แล้ว สอดเข้ากับ ร่องต่างๆ ของกระเดื่อง เช็ดเพียงเบา ๆ หากเป็นซอก ที่ผ้าเข้าไม่ถึง ก็ให้ใช้ ลวดสักหลาด (Tone hole cleaner) ทำความสะอาด ตามรูป
6.การดูแลรักษานวม
น้ำและของเหลว ทุกชนิด เป็นสิ่งไม่พึงประสงค์ ต่อนวม จึงห้ามนำ เครื่องไป ล้างน้ำ หรือโดนฝน และ ภายหลัง การใช้เครื่อง ทุกครั้ง จะต้อง ซับความชื้น ออกจากนวม ด้วยกระดาษซับนวม (Cleaning Paper) ตามรูป โดย สอดกระดาษ ซับนวม เข้าไป ระหว่าง รูเสียง กับนวม แล้วกดแป้น หรือ กระเดื่อง ของนวมนั้นหลาย ๆ ครั้ง จนนวมแห้ง รูเสียงของ Octave Key ก็ มีความสำคัญ ไม่น้อย เมื่อ มีฝุ่น หรือ คราบสกปรก เกาะติดมากๆ อาจจะทำให้ เสียง ที่ เป่าออกมา เพี้ยน ไม่สมบูรณ์ ควรทำ ความสะอาด ด้วย ลวดสักหลาด (Tone hole cleaner) และ กระดาษซับนวม เป็นประจำ
แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.musichouse.co.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น